วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปรายงานสถานการณ์โรค ไข้เลือดออก อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี


สรุปรายงานสถานการณ์โรค ไข้เลือดออก  อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี 
ระหว่างวันที่  1 มกราคม 2558  ถึงวันที่  10 พฤศจิกายน 2558

       นับตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2558 ถึงวันที่  10 พฤศจิกายน 2558 รพช.ทุ่งยางแดง  ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค  ไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   61.62 ต่อประชากรแสนคน       พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง  โดยพบเพศชาย 7  ราย  เพศหญิง 7 ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1 : 1
      กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14  ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  8 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  15 -  24  ปี และ 5-9 ปี เท่ากับ  4 และ 2 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นนักเรียน  ทั้ง 14  ราย  พบเป็นผู้ป่วยรายแรกเดือนกรกฎาคม เป็นเด็กนักเรียน โรงเรียนดรุณศาสตร์ อำเภอสายบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงเนื่องจากอำเภอสายบุรีเป็นพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และมีการมาแพร่เชื้อต่อในชุมชนที่บ้าน ในเขตปากูเป็นผู้ป่วยพื้นที่ใกล้เคียงกัน  ในตำบลพิเทนเป็นผู้ป่วยที่เป็นนักเรียนโรงเรียนนิติวิทย์และกลับมาแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน ตำบลตะโละแมะนาเป็นเด็กนักเรียนเรียนภักดีปฏิเสธการเดินทาง และ 1 รายเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนทุ่งยางแดง แต่บ้านอาศัยอยู่ที่ยะลาไปๆมาๆโรงเรียน

          พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน กรกฎาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 8 ราย  โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน  มกราคม  1 ราย กุมภาพันธ์  0 ราย มีนาคม  0 ราย เมษายน  0 ราย พฤษภาคม  0 ราย มิถุนายน  0 ราย กรกฏาคม  8 ราย สิงหาคม  2 ราย กันยายน  1 ราย ตุลาคม   1 ราย  พฤศจิกายน  1 ราย
       ตำบลที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือตำบล   พิเทน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  5 ราย รองลงมาคือ ตะโละแมะนา  4  ราย  ตำบล ปากู  และตำบลน้ำดำ จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  4, 1 ราย ตามลำดับ หมู่บ้านที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ บ้านป่ามะพร้าว ต.พิเทน จำนวน 3 ราย รองลงมา คือ หมู่บ้านตะโละแมะนา ต.ตะโละแมะนา และบ้านข่าลิง ต.พิเทน จำนวน 2, 2 ราย ตามลำดับ
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
1. พ่นหมอกควันรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร
2. สำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและรัศมีบ้านผู้ป่วย พบบ้านที่มีลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 61.76 ค่า CI =24.03
3. แจกแผ่นพับความรู้เรื่องโรค แจกทรายอะเบท ยาทากันยุง ให้กับผู้ป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น